“หุ่นยนต์สำรวจคลองส่งน้ำดิบ” ของ กปน. คว้ารางวัล Bronze Award จากการประกวด “Thailand Kaizen Award 2022”
“หุ่นยนต์สำรวจคลองส่งน้ำดิบ” ของ กปน. คว้ารางวัล Bronze Award จากการประกวด “Thailand Kaizen Award 2022”
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เวลา 17.00 น. ณ ห้องแกรนด์ฮอลล์ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา นางสาวฉวีวรรณ อุทัยพิบูลย์ รองผู้ว่าการ (บริหาร) การประปานครหลวง (กปน.) นำคณะผู้บริหาร และทีมงาน “วารีกุญชร” ผู้พัฒนาผลงาน “หุ่นยนต์สำรวจคลองส่งน้ำดิบ” เข้ารับรางวัล Bronze Award จากการประกวด “Thailand Kaizen Award 2022” ประเภท Project Kaizen จัดโดย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ พร้อมมอบรางวัลเชิดชูเกียรติสาหรับผู้ที่มีผลงาน Kaizen ดีเด่น และองค์กรที่นำ Kaizen เข้าไปช่วยปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล ในการนี้ นางนิสภัสร์ วงศ์พัฒน์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ (ธุรกิจ) เป็นผู้แทน กปน. นำทีมงาน ร่วมนำเสนอผลงานในเวทีดังกล่าวด้วยวันที่ 6 สิงหาคม 2565 จัดกิจกรรม “ประปาพบประชาชน” ให้บริการประชาชนเรื่องระบบงานประปา การตรวจและซ่อมท่อประปาเบื้องต้น ตามชุมชนต่าง ๆ 18 แห่ง ทั่วกรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการวันที่ 15 สิงหาคม 2565 มอบเงินสนับสนุนศูนย์วิทยาการเวชศาสตร์ผู้สูงอายุระดับชาติ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในโครงการ “ต้นแบบการดูแลผุ้สูงอายุ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน” จำนวน 364,000 บาท และสนับสนุนมูลนิธิภัทรมหาราชานุสรณ์ ในพระอุปถัมภ์ฯ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ จำนวน 260,000 บาทวันที่ 16 สิงหาคม 2565 เปิดให้หน่วยงานภายนอกเข้าร่วมแสดงความยินดีครบรอบ 55 ปี โดยรับเป็นเงินบริจาคเพื่อสนับสนุน “มูลนิธิพระแม่ธรณี การประปานครหลวง” แทนการรับกระเช้า ณ อาคารอเนกประสงค์ กปน. สำนักงานใหญ่ โดยในวันที่ 16 สิงหาคม 2565 กปน. จัดพิธีมอบโล่เกียรติคุณให้ผู้ประกอบคุณประโยชน์แก่ กปน. ประจำปี 2564 และ 2565 โดยปี 2564 มีผู้ที่ได้รับการคัดเลือก ประเภทบุคคลหรือกลุ่มบุคคลภายนอก จำนวน 14 ราย ประเภทหน่วยงานราชการหรือเอกชน จำนวน 4 ราย และประเภทพนักงานหรือกลุ่มพนักงาน กปน. จำนวน 2 ราย รวมทั้งสิ้น 20 ราย อาทิ พระปลัดรังสรรค์ นิพฺภโย เจ้าอาวาสวัดสำแล นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา กรมชลประทาน เป็นต้น และปี 2565 มีผู้ที่ได้รับการคัดเลือก ประเภทบุคคลหรือกลุ่มบุคคลภายนอก จำนวน 2 ราย ประเภทหน่วยงานราชการหรือเอกชน จำนวน 1 ราย และประเภทพนักงานหรือกลุ่มพนักงาน กปน. จำนวน 3 ราย รวมทั้งสิ้น 6 ราย อาทิ นายวรารัตน์ ชุติมิต อนุกรรมการพัฒนาองค์กร นายพงษ์ศักดิ์ จินดาสุข กรรมการผู้จัดการ บริษัท จินดาสุขคอมเมอร์เชียล (1980) จำกัด เป็นต้น
ทั้งนี้ ผลงาน “หุ่นยนต์สำรวจคลองส่งน้ำดิบ” ถูกพัฒนาเพื่อนำมาใช้ทดแทนการสำรวจคลองส่งน้ำดิบด้วยการใช้เรือพาย โดยได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มีการติดตั้งเซนเซอร์แบบดิจิทัล สำหรับตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้นที่สำคัญต่อกระบวนการผลิตน้ำประปา อาทิ ความนำไฟฟ้า ความขุ่น อุณหภูมิ เป็นต้น เพื่อดึงข้อมูลการวัดจากหุ่นยนต์แสดงผลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้เรือพายแบบดั้งเดิม พบว่า สามารถสำรวจได้รวดเร็วขึ้น 28.75 เท่า มีความละเอียดของการวัดเพิ่มขึ้น 10 เท่า ลดค่าใช้จ่ายโดยรวมลง 15 เท่า ทั้งยังสามารถเข้าสำรวจในพื้นที่ซึ่งเรือพายมีข้อจำกัดในการเข้าถึง และสามารถแสดงผลการตรวจวัดแบบ Realtime เมื่อนำข้อมูลจากการสำรวจไปวางแผนบำรุงรักษาคลองส่งน้ำดิบ ช่วยให้สามารถเลือกดำเนินการเท่าที่มีความจำเป็น จึงช่วยลดการใช้งบประมาณลงได้มาก